เมนู

15. อาหารปัจจัย


[245] 1. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอาหารปัจจัย

คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นอัปปฏิฆธรรม
ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
วาระ 2 ที่เหลือนอกนั้นพึงกระทำ. ปฏิสนธิ กวฬีการาหาร พึงกระทำ
แม้ในวาระทั้ง 2 เบื้องปลาย.

16. อินทริยปัจจัย


[246] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายินทรีย์ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอินทริยปัจจัย มี 3 วาระ.

พึงกระทำชีวิตินทรีย์ แม้ใน 3 วาระเบื้องปลาย (วาระที่ 2 - 4)
5. สัปปฏิฆธรรม และอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ จักขุนทรีย์และจักขุวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคต
ด้วยจักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย ฯลฯ กายินทรีย์ และกาย-
วิญญาณ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ด้วยอำนาจของ
อินทริยปัจจัย.

17. ฌานปัจจัย ฯลฯ 19. สัมปยุตตปัจจัย


[247] ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของฌานปัจจัย มี 3 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของมัคคปัจจัย มี 3วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสัมปยุตตปัจจัย
มี 1 วาระ.

20. วิปปยุตตปัจจัย


[248] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย